ระบุชื่อ “แฟน” เป็นผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตได้จริงหรือ??

52174 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันชีวิต

ถึงวันวาเลนไทน์แล้ว คนที่มีแฟนเกือบทุกคนคงต้องคิดหนักแล้วล่ะค่ะ ว่าปีนี้เราจะซื้อของขวัญอะไรไปเซอร์ไพรส์แฟนดี อีกหนึ่งของขวัญที่อินเทรนด์สำหรับคนรุ่นใหม่ก็คือ กรมธรรม์ประกันชีวิต

แต่ถ้าคุณทั้งสองยังเป็นแค่แฟน แถมบางคู่เป็นคู่รักเพศเดียวกันอีกด้วย อาจมีคำถามว่า ถ้าเป็น “แฟน” เป็น "สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส" หรือเป็น “คู่ชีวิตเพศเดียวกัน” จะสามารถทำประกันชีวิตของตัวเอง แล้วระบุชื่อ “แฟน” "สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน" หรือ “คู่ชีวิตเพศเดียวกัน” นี้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้หรือไม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิตคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีรายละเอียดในการทำสัญญาผูกพันระหว่างผู้รับประกันภัยคือบริษัทประกันชีวิตกับผู้เอาประกัน ซึ่งเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ระบุว่า ผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ อยู่ใน มาตรา 891 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่า “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับผลประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิ์ที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้ว ว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

หมายความว่า ถ้าเป็นทางกฎหมายแล้ว เราสามารถระบุใครก็ได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ของประกันชีวิตค่ะ โดยไม่จำเป็นต้องสนิทหรือเป็นคนในครอบครัวก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ลูกหลาน แฟน ญาติ เพื่อน คนข้างบ้าน ได้หมด และยังสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์กี่คนก็ได้ พร้อมยังสามารถกำหนดสัดส่วนเงินที่แต่ละคนจะได้รับได้อีกด้วย

แต่ในทางปฏิบัติของบริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่มักจะให้ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นคนใกล้ชิดทางสายเลือดหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ทำประกัน เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหาการทำประกันแล้วมุ่งร้ายผู้เอาประกันเพื่อหวังเงินประกัน แต่หากต้องการระบุเป็นคนอื่นเช่น คู่ชีวิตที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทางบริษัทจะให้นำส่งข้อมูลชื่อผู้รับผลประโยชน์เข้าไปให้บริษัทพิจารณาพร้อมแนบเอกสารที่แสดงถึงความสัมพันธ์ เช่น การเปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน, การมีชื่อในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกัน, การทำธุรกิจร่วมกัน, การขอสินเชื่อหรือเปิดบัญชีเงินกู้ร่วมกัน, ให้เป็นผู้รับผลประโยชน์แบบต่างตอบแทน ซึ่งหมายถึงว่าต่างฝ่ายต่างรับประโยชน์ซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งระบุความสัมพันธ์ว่าเป็นคู่ชีวิต ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของบริษัทประกันชีวิตและเอกสารที่เสนอเข้าไปพิจารณาด้วยค่ะ

ซึ่งการที่เราจะยกผลประโยชน์ในกรมธรรม์ให้กับใคร นั่นแปลว่าคนผู้นั้นควรจะต้องมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับเราในแง่ใดแง่หนึ่ง หากสามารถแสดงให้เห็นถึงหลักฐานในความสัมพันธ์นั้นได้ บริษัทก็จะรับพิจารณา ว่าถึงจะไม่ได้แสดงด้วยทะเบียนสมรส แต่ก็มีการทำอะไรร่วมกัน เช่น เปิดร้านขายของด้วยกัน, ฝากเงินในธนาคารบัญชีร่วมกัน, ซื้อบ้านเป็นชื่อทั้งคู่ร่วมกัน, ยืนยันว่าเป็นคู่ชีวิตกัน เป็นต้น

ส่วนคำว่าต่างฝ่ายต่างเป็นผู้รับผลประโยชน์ต่างตอบแทน หมายความว่า ให้ทำประกันชีวิตทั้ง 2 คน และต่างฝ่ายต่างระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะนี้ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่สามารถทำได้

หากไม่ได้ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ และมีกรณีเสียชีวิตเกิดขึ้น บริษัทประกันจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่กองมรดกของผู้เอาประกันแทน

ในที่นี้จะขออธิบายเพิ่มเติมในอีกหลายๆ กรณีให้เข้าใจยิ่งขึ้นนะคะ เช่น กรณีระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว และผู้รับผลประโยชน์คนนี้เสียชีวิตเราที่เป็นผู้เอาประกัน เราจะต้องแจ้งบริษัทประกันเพื่อเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ หากไม่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์เข้าให้แก่กองมรดกแทน

อีกกรณีหนึ่งคือหากระบุผู้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 คน และในจำนวนนี้มีคนหนึ่งเสียชีวิตก่อน ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งเปลี่ยนตัวผู้รับผลประโยชน์จากผู้เสียชีวิตไปแล้วเป็นคนอื่น หรือหากไม่มีการแจ้งเปลี่ยน เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทประกันก็จะเฉลี่ยเงินตามจำนวนรายชื่อทั้งหมด แล้วนำเงินส่วนของผู้รับผลประโยชน์ที่เสียชีวิตไปแล้วให้กับผู้รับประโยชน์คนอื่น ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในสัดส่วนเท่าๆกัน

และมีข้อที่สำคัญอีกอย่างนะคะที่ผู้ถือกรมธรรม์อาจจะยังไม่รู้ ว่าการกำหนดผู้รับผลประโยชน์ใน กรมธรรม์นั้น ถ้าเราเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์ใหม่ เราก็สามารถทำเรื่องเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เราไม่ได้ส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้รับผลประโยชน์ และผู้รับผลประโยชน์ยังไม่แจ้งแก่บริษัทประกันชีวิตเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะรับประโยชน์ในกรมธรรม์นั้น

ในการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ภายหลังจากที่เราใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ไปและกรมธรรม์ออกมาเป็นเล่มเรียบร้อยแล้ว แค่ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันชีวิตว่าต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ผู้รับประโยชน์ บริษัทฯก็จะดำเนินการให้ตามประสงค์ได้เลยโดยไม่ผิดแต่ประการใด

ตัวอย่างกรณีที่ 1

ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้ในเล่มกรมธรรม์เฉยๆ ไม่มีการมอบและตอบรับไปยังบริษัทประกันชีวิต

ถ้า นาย ก. ทำประกันชีวิตด้วยทุนประกัน 100,000 บาทและระบุชื่อภรรยาคนที่ 1 เป็นผู้รับผลประโยชน์ เมื่อถึงวันวาเลนไทน์ก็บอกภรรยาคนที่ 1 ว่าทำประกันชีวิตแล้วนะ ระบุมอบผลประโยชน์ให้ภรรยาคนนี้เป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ หลังจากนั้น นาย ก. ก็เปลี่ยนใจอยากยกผลประโยชน์ให้แก่ภรรยาคนที่ 2 แทนก็สามารถทำได้ โดยแจ้งไปยังบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ตัวอย่างกรณีที่ 2

ผู้รับผลประโยชน์รับเล่มกรมธรรม์และตอบรับไปยังบริษัทประกันชีวิต

ถ้า นาย ก. ทำประกันชีวิตด้วยทุนประกัน 100,000 บาทและระบุชื่อภรรยาคนที่ 1 เป็นผู้รับผลประโยชน์ เมื่อถึงวันวาเลนไทน์ก็เอาเล่มกรมธรรม์มอบให้ภรรยาคนที่ 1 เป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ ปรากฎว่าภรรยาคนที่ 1 ของ นาย ก. เมื่อรับกรมธรรม์ไปแล้วได้มีการส่งจดหมายไปแจ้งแก่บริษัทประกันว่า ขอตอบรับการเป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์นี้ บริษัทรับทราบและทำการบันทึกเป็นหลักฐาน หลังจากนั้น นาย ก. ก็เปลี่ยนใจอยากยกผลประโยชน์ให้แก่ภรรยาคนที่ 2 แทนก็ไม่สามารถทำได้แล้ว สิ่งที่ทำได้คือต้องยกเลิกกรมธรรม์เดิมแล้วทำกรมธรรม์ใหม่ เพื่อระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นภรรยาคนที่ 2

ตัวอย่างกรณีที่ 3

ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ซึ่งรับเล่มกรมธรรม์และตอบรับไปยังบริษัทประกันชีวิต แต่เมื่อถึงวันรับผลประโยชน์มีเจ้าหนี้มาตามทวงหนี้

ถ้า นาย ก. ทำประกันชีวิตด้วยทุนประกัน 100,000 บาทและระบุชื่อภรรยาคนที่ 1 เป็นผู้รับผลประโยชน์ เมื่อถึงวันวาเลนไทน์ก็เอาเล่มกรมธรรม์มอบให้ภรรยาคนที่ 1 เป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ ปรากฎว่าภรรยาคนที่ 1 ของ นาย ก. เมื่อรับกรมธรรม์ไปแล้วได้มีการส่งจดหมายไปแจ้งแก่บริษัทประกันว่า ขอตอบรับการเป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์นี้ บริษัทรับทราบและทำการบันทึกเป็นหลักฐาน
 
จากนั้น เวลาผ่านไป 5 ปี นาย ก. ได้จ่ายเบี้ยประกันไป 30,000 บาทก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต เจ้าหนี้ทราบข่าวก็มาตามทวงหนี้ ในกรณีนี้เงินประกันชีวิตที่เป็นเบี้ยที่จ่ายไปแล้ว จะต้องถูกนำไปชำระหนี้ ซึ่งหมายความว่า เงิน 100,000 ที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่าย ต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • เบี้ยประกันที่จ่ายไปแล้ว 30,000 บาทที่จะต้องนำไปแบ่งเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้
  • กับเงินส่วนที่เหลืออีก 70,000 บาท ซึ่งบริษัทประกันจะต้องจ่ายภรรยาคนที่ 1 เป็นสินไหมทดแทน

เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เราทำประกันชีวิต ควรระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ให้เรียบร้อย เปรียบเสมือนกับเป็นการทำพินัยกรรมยกเงินก้อนหนึ่งให้กับคนที่เรารัก ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร เป็นพ่อแม่ เป็นลูก เป็นสามีภรรยาที่จดทะเบียนหรือไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม หรือจะเป็นคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ก็สามารถระบุชื่อได้ค่ะ (ทั้งนี้ขึ้นกับเกณฑ์การพิจารณารับประกันของแต่ละบริษัทประกันชีวิตด้วยนะคะ)

=====================
สอบถามเบี้ยอายุเฉพาะคุณได้ที่ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ตัวแทนประกันชีวิตตำแหน่งผู้จัดการ คุณวุฒิ MDRT
ให้วางแผนดอทคอมดูแลเรื่องประกันให้คุณสิคะ เรามีบริการหลังการขายตลอดอายุสัญญาค่ะ

ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS



 

เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครั

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้