เชื่อหรือไม่ เก็บเพิ่มขึ้นวันละ 1 บาท ทุกๆวัน จะรวย 10 ล้านได้ใน 12 ปี 3 เดือน

27389 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วางแผนออมเงิน

ถ้าจะพูดถึงเรื่องการเก็บเงิน อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆ คน และบางคนอาจจะเก็บเงินได้จริง แต่พอเก็บไปได้สักระยะหนึ่ง กำลังเริ่มจะเป็นกอบเป็นกำ ก็มีเหตุให้ต้องเอาออกมาใช้จ่าย และพอจะเริ่มเก็บอีกครั้งก็รู้สึกว่าการเริ่มต้นจากเงินน้อยๆ จะเป็นการยากมากที่จะได้เป็นเงินก้อนใหญ่

เราลองคิดเล่นๆ ดูนะคะว่า
 ถ้าเราเก็บเงินวันที่ 1 ม.ค.2562 = 1 บาท
 และวันต่อมา วันที่ 2 ม.ค.เก็บเงิน 2 บาท รวมกับเงินที่เก็บวันแรก ก็จะมีเงินเก็บสะสมรวม 3 บาท (1+2 = 3 บาท)
 วันถัดไปวันที่ 3 ม.ค. เก็บ 3 บาท รวมเงินที่เก็บมาแล้วก็จะมีเงินสะสมเป็น 6 บาท (1+2+3 = 6 บาท)
 วันถัดไปเก็บ 4 บาท รวมเงินที่เก็บมาแล้วก็จะมีเงินสะสมเป็น 10 บาท (1+2+3+4 = 10 บาท) วันถัดไปเก็บ 5 บาท รวมเงินที่เก็บมาแล้วก็จะมีเงินสะสมเป็น 10 บาท (1+2+3+4+5 = 15 บาท) เรามาดูตารางแสดงการเก็บเงินแบบนี้ในเดือนแรกนะคะ



 

จะเห็นว่าเมื่อครบ 31 วันหรือ 1 เดือนแรกในสิ้นเดือน ม.ค. หรือวันที่ 31 ม.ค. จะเก็บเงินได้ 496 บาท และจากนี้เราก็เก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก 28 วันทุกวัน พอครบ 2 เดือนหรือสิ้นเดือน ก.พ. จะมีเงินเก็บสะสม 1,770 บาท

  • สิ้นเดือนที่ 3 มีเงินเก็บสะสม 4,095 บาท
  • สิ้นเดือนที่ 4 มีเงินเก็บสะสม 7,260 บาท
  • สิ้นเดือนที่ 5 มีเงินเก็บสะสม 11,476 บาท
  • สิ้นเดือนที่ 6 มีเงินเก็บสะสม 16,471 บาท

จนถึงสิ้นเดือนที่ 12 หรือสิ้นปีที่ พ.ศ.2562 มีเงินเก็บสะสม 66,795 บาท ลองมาตอบคำถามเล่น ๆ ดูนะคะว่า ถ้าเราเก็บเงินเพิ่มในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะเก็บเงินได้ถึง 10 ล้าน โดยจะคิดคร่าว ๆ ว่า ใน 1 ปีมี 365 วัน

 
  • สิ้นปีที่ 1 มีเงินเก็บสะสม 66,795 บาท
  • สิ้นปีที่ 2 มีเงินเก็บสะสม 266,815 บาท
  • สิ้นปีที่ 3 มีเงินเก็บสะสม 600,060 บาท
  • สิ้นปีที่ 4 มีเงินเก็บสะสม 1,066,530 บาท
  • สิ้นปีที่ 5 มีเงินเก็บสะสม 1,657,110 บาท
  • สิ้นปีที่ 6 มีเงินเก็บสะสม 2,399,145 บาท
  • สิ้นปีที่ 7 มีเงินเก็บสะสม 3,265,290 บาท
  • สิ้นปีที่ 8 มีเงินเก็บสะสม 4,264,660 บาท
  • สิ้นปีที่ 9 มีเงินเก็บสะสม 5,397,255 บาท
  • สิ้นปีที่ 10 มีเงินเก็บสะสม 6,663,075 บาท
  • สิ้นปีที่ 11 มีเงินเก็บสะสม 8,062,120 บาท
  • สิ้นปีที่ 12 มีเงินเก็บสะสม 9,594,390 บาท

ณ ปีที่ 12 กับอีก 3 เดือน มีเงินเก็บสะสม 10,001,628 บาท

เราจึงได้คำตอบว่า ถึงเราจะเริ่มเก็บเงินเพียง 1 บาทในวันแรก และเก็บ 2 บาทในวันที่ 2 เก็บ 3 บาทในวันที่ 3 เพิ่มแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็จะมีเงินเก็บสะสมได้ 10 ล้านบาทเมื่อเวลาผ่านไปได้ 12 ปี 3 เดือน

นี่เป็นตัวอย่างการเก็บออมเงินแบบแปลกๆ แบบหนึ่ง ให้เพื่อนๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตัวเราแต่ละคน บางคนอาจจะแย้งว่า ในวันหลังๆ ต้องเก็บเงินเป็นจำนวนมากต่อวัน เราคงไม่มีเงินให้เก็บมากแบบนั้น ก็ขอให้เราได้ลองเก็บมากเท่าที่เราจะสามารถทำได้ แค่นั้นก็ดีกว่าการที่ไม่ได้เก็บอะไรเลย


อีกทั้งในตัวอย่างนี้ ก็เป็นเงินจากการเก็บอย่างเดียว เรายังไม่ได้คิดว่า ถ้าเอาเงินเก็บนี้ไปลงทุนให้ได้ดอกผลงอกเงยจะมีเงินเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าใด

ดังนั้น ในแง่ของการเพิ่มการเก็บเงิน เราอาจจะศึกษาวิธีการลงทุนแบบต่างๆ แล้วนำเงินที่เก็บทีละน้อยในช่วงแรกนี้ ไปลงทุนแล้วนำผลตอบแทนนั้นมาคำนวณเป็นเงินเก็บในช่วงหลังๆ ความหวังที่จะเก็บเงินให้ได้ครบ 10 ล้านบาทก็คงจะไม่ไกลเกินเอื้อมหรอกนะคะ


เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ที่ปรึกษาการเงิน CFP
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
Tel&Line : 0849290088 หรือคลิกที่นี่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS 

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้