เปรียบเทียบลดหย่อน 2 แสนหลัง บำนาญ 9960 กับ 8560

ในการเตรียมวางแผนภาษี สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการลดหย่อน และวิธีที่เป็นที่นิยมก็คือการลดหย่อนด้วยเบี้ยประกัน ซึ่งมีทั้งแบบ 100,000 บาทแรกและแบบ 200,000 บาทหลัง
 

โดยในที่นี้จะเน้นแบบประกันที่สามารถลดหย่อน แบบ 200,000 บาทหลังได้ และหากใครยังไม่มีประกันที่จะลดหย่อน 100,000 บาทแรกเลย ก็จะสามารถใช้แบบประกันที่จะพูดถึงนี้ ในการลดหย่อนได้ทั้ง 100,000 บาทแรกและลดหย่อน 200,000 บาทหลังได้ด้วยพร้อมกันเลยทีเดียว

แบบประกันบำนาญลดหย่อนได้

แบบประกันบำนาญที่จะใช้ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาทนั้น ที่น่าสนใจของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ก็มีโดดเด่นอยู่ 3 แบบค่ะ

1. เมืองไทย 9960 (บำนาญลดหย่อนได้)
2. เมืองไทย 8560 (บำนาญลดหย่อนได้)
3. เมืองไทย 8560 จี 15 (บำนาญลดหย่อนได้)
 
วิธีสังเกตุว่าแบบประกันไหน ใช้ลดหย่อน 2 แสนหลังได้

สังเกตเห็นได้ว่า ทุกแบบที่พูดถึงนี้ จะมีวงเล็บด้านหลังชื่อแบบว่า (บำนาญลดหย่อนได้) ซึ่งหมายถึงว่า เป็นแบบประกันบำนาญที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 200,000 บาทหลังได้ด้วยนั่นเอง

หากไม่มีวงเล็บนี้ท้ายแบบประกัน คือไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อน 200,000 บาทหลังได้นะคะ ถึงแม้ว่าชื่อแบบประกันจะมีคำว่าบำนาญอยู่ก็ตามค่ะ
 
และหากใครยังไม่มีลดหย่อนด้วยเบี้ยประกัน ก็จะใช้แบบที่มีคำว่า บำนาญลดหย่อนได้ ในการลดหย่อนได้ถึง 300,000 บาทนะคะ
 
แผนผังผลประโยชน์
1. เมืองไทย 9960 (บำนาญลดหย่อนได้)

 
 
2. เมืองไทย 8560 (บำนาญลดหย่อนได้)

 
 
3. เมืองไทย 8560 จี 15 (บำนาญลดหย่อนได้)

 
เปรียบเทียบแบบประกันบำนาญ

เราจะมาดูทั้ง 3 แบบนี้ไปพร้อมๆ กัน โดยจะเปรียบเทียบทุกแง่มุมแบบประเด็นต่อประเด็นกันค่ะ

ในการเปรียบเทียบ เราจะสมมุติเพศและอายุกันก่อน เพื่อใช้ในการคำนวณเบี้ยประกัน ทุนประกันและทำให้เห็นตัวแลขผลประโยชน์ รวมทั้งเงินบำนาญที่จะได้รับค่ะ
 
สมมุติฐาน

สมมุติว่า ผู้วางแผนประกันบำนาญนี้ เป็นเพศชาย อายุ 49 ปี ต้องการลดหย่อนภาษี 100,000 บาทต่อปี โดยมีประกันชีวิตอื่นที่ใช้ลดหย่อน 1 แสนบาทแรกไปแล้ว ดังนั้น แบบประกันบำนาญนี้จึงมุ่งเน้นลดหย่อน 200,000 บาทหลังเป็นหลัก
 
และสมมุติให้มีฐานภาษีที่ 30% ต่อปี
 
*** เบี้ยประกันต่อปี 100,000 บาท ***
*** ลดหย่อนได้ 100,000 คูณ 30% เท่ากับลดหย่อนได้ปีละ 30,000 บาท ***
*** เริ่มทำประกันอายุ 49 ส่งเบี้ยทั้งหมด 11 งวด รวมลดหย่อนภาษีได้ 330,000 บาท ***
 
แผนการประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ 3 แบบ
1. เมืองไทย 9960 (บำนาญลดหย่อนได้)

2. เมืองไทย 8560 (บำนาญลดหย่อนได้)
 
3. เมืองไทย 8560 จี 15 (บำนาญลดหย่อนได้)
 

ทุนประกัน 

 เมื่อกำหนดเบี้ยประกันในทุกแบบเท่ากัน คือ 100,000 บาท เราคำนวณทุนประกันหรือจำนวนเงินเอาประกันภัยที่จะได้รับความคุ้มครองชีวิต รวมทั้งใช้ในการคำนวณจำนวนเงินบำนาญที่จะได้รับ
 

 
  จะเห็นได้ว่า แบบเมืองไทย 8560 เป็นแบบที่ให้ทุนประกันสูงสุด จึงเป็นแบบที่ในปีแรกๆ ที่ทำประกัน จะให้ความคุ้มครองชีวิตสูงสุด เหมาะที่จะทำในกรณีที่ต้องการมอบเงินค่าใช้จ่ายให้กับคนที่เรารักเมื่อเราจากไปในช่วงปีแรกๆ ของกรมธรรม์
 
8560 บำนาญต่อปีสูงสุด
 
เนื่องจากทั้ง 3 แบบนี้ เนื่องจากแบบ 8560 ให้ทุนประกันสูงสุดจึงทำให้คำนวณเงินบำนาญจากทุนประกันคูณด้วย 12% ของแบบเมืองไทย 8560 ได้เงินบำนาญต่อปีสูงสุดด้วยเช่นกัน
 

 
แบบ 9960 บำนาญรวมทุกปีสูงสุด
 
แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาว โดยดูยอดเงินรวมที่ได้รับจากบำนาญตลอดจนสิ้นสุดสัญญา กลับพบว่าแบบเมืองไทย 9960 ให้เงินบำนาญรวมสูงสุด เพราะให้ตั้งแต่อายุ 60 ถึง อายุ 99 ปี เป็นจำนวนมากถึง 40 ปี ในขณะที่แบบเมืองไทย 8560 และ 8560จี15 ให้บำนาญถึงอายุ 85 ซึ่งเท่ากับ 26 ปี เมื่อคำนวณเป็นเงินบำนาญรวมจึงได้จำนวนที่น้อยกว่า
 
*** แบบเมืองไทย 9960 ***
ให้เงินบำนาญ 40 ปี
ปีละ 71,263 บาท คูณ 40 ปี
เท่ากับบำนาญรวมสูงสุดถึง 2,850,520 บาท
เมื่อคิดหักเบี้ยที่ชำระ 1,100,000 บาท 
จะได้ส่วนต่างถึง 1,750,520 บาท
เมื่อรวมลดหย่อนภาษี ฐาน 30% ได้ 11 ปี เป็นเงิน 330,000 บาท
รวมเป็นผลประโยชน์ถึง 2,080,520 บาท 

ความคุ้มครองชีวิต
จำนวนเงินที่เราจะมอบให้คนข้างหลังเมื่อเราจากไป จะพิจารณาได้เป็น 2 ช่วงคือ
1. ช่วงก่อนรับบำนาญ
2. ช่วงหลังรับบำนาญ
 
ความคุ้มครองในช่วงก่อนรับบำนาญ
ในการสมมุตินี้ เราให้ผู้ทำประกันอายุ 49 ปี และทุกแบบประกันให้รับบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี ดังนั้นจำนวนปีก่อนรับบำนาญจึงเท่ากับ 11 ปี
1. เมืองไทย 9960 (บำนาญลดหย่อนได้) คุ้มครองเท่าทุนประกันหรือมูลค่าเวนคืน (เลือกอันที่มูลค่ามากกว่า)
2. เมืองไทย 8560 (บำนาญลดหย่อนได้) คุ้มครองเท่าทุนประกันหรือมูลค่าเวนคืน (เลือกอันที่มูลค่ามากกว่า)
3. เมืองไทย 8560 จี 15 (บำนาญลดหย่อนได้) คุ้มครองตามเปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน ณ อายุที่ทำประกัน และเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 10%
 
 


จะเห็นว่าแบบเมืองไทย 8560 จี 15 เป็นแบบที่มีความคุ้มครองชีวิตก่อนรับบำนาญสูงที่สุด ดูจากผังผลประโยชน์ เมื่อเริ่มทำประกันที่อายุ 49 ปีจะได้ความคุ้มครอง 150% ของทุนประกันและเพิ่มขึ้นปีละ 10% จนถึงอายุ 60 ปีก่อนรับบำนาญ
 
ความคุ้มครองในช่วงหลังรับบำนาญ
 
1. เมืองไทย 9960 (บำนาญลดหย่อนได้) การันตีจ่ายบำนาญขั้นต่ำ 10 ปี 
2. เมืองไทย 8560 (บำนาญลดหย่อนได้) การันตีจ่ายบำนาญขั้นต่ำ 10 ปี 
3. เมืองไทย 8560 จี 15 (บำนาญลดหย่อนได้) การันตีมากที่สุดคือจ่ายบำนาญขั้นต่ำ 15 ปี 
 
 
 
วิธีการจ่ายบำนาญเมื่อสิ้นสุดสัญญาด้วยเหตุจากไปก่อนวัยอันควร จะคิดจากมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินบำนาญที่ยังไม่ได้จ่ายจนครบตามจำนวนปีที่การันตีไว้ โดยนำจำนวนปีที่ได้มีการรับเงินบำนาญไปแล้วมาคำนวณด้วย เหตุที่ต้องคำนวณยอดเงินนี้เป็นมูลค่าปัจจุบันก็เพราะว่าผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินจำนวนนี้ในปีปัจจุบันคือปีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต (ไม่ใช่การทยอยรับเงินบำนาญในแต่ละปีไปเรื่อยๆ จนครบตามสัญญา)
 
สรุปการเปรียบเทียบทั้ง 3 แบบที่มีเบี้ยประกันเท่ากันคือ 100,000 บาทต่อปี เป็นเวลา 11 ปี รวมเงิน 1,100,000 บาท

แบบที่ให้เงินบำนาญรวมมากที่สุด คือ 9960
 
แบบที่ให้เงินบำนาญรวมสูงสุดและนานสุดคือ แบบ 9960 ให้บำนาญถึงอายุ 99 ปี ซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเน้นเรื่องรับเงินบำนาญในระยะยาวและเป็นรวมเป็นเงินก้อนใหญ่ 
 
แบบที่ให้เงินคุ้มครองชีวิตไว้ให้คนที่เรารักมากที่สุด คือ 8560จี15
 
โดยการการันตีจ่ายบำนาญเมื่อเราจากไปแล้วสูงกว่าคือ 15 ปี ซึ่งเป็นเงินที่เราจะมอบไว้ให้คนที่เรารัก แบบ 8560 จี 15 เหมาะกับผู้ที่มีครอบครัวหรือมีคนข้างหลังให้ห่วงใย เพราะนอกจากช่วงหลังรับบำนาญจะมีการันตีการจ่ายบำนาญที่มากกว่าแล้ว ช่วงก่อนรับบำนาญก็มีความคุ้มครองชีวิตที่มากกว่าแบบอื่นๆ เช่นกัน
 
เบี้ยประกันและความคุ้มครองจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุและเพศที่ต่างกัน หากต้องการให้คำนวณเบี้ยและเงินบำนาญของอายุอื่นๆ สามารถแจ้งได้ตามช่องทางด้านล่างนี้นะคะ


 


เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล


ที่ปรึกษาทางการเงิน AFPT™
ผู้วางแผนการลงทุน IP License
Standard Manager บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันวินาศภัย
ตัวแทนอิสระกองทุนรวมบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด
ผู้แนะนำการลงทุน  IC License
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม


ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ
 
 
 

บทความแนะนำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้