ประกันสำหรับผู้ที่ต้องการเงินบำนาญต่อปีสูงๆ

ประกันบำนาญ
วัตถุประสงค์ในการทำประกันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ประกันแต่ละแบบก็เหมาะกับคนแต่ละคนแตกต่างกันไป ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่ต้องการทำประกันบำนาญไม่เพียงแต่ใช้เพื่อการลดหย่อนภาษี ยังต้องการเตรียมเงินสำหรับวัยเกษียณให้ตัวเองด้วย

เราขอแนะนำแบบประกันบำนาญลดหย่อนได้เมืองไทย 9960 ซึ่งเป็นแบบที่มีการคืนเงินบำนาญสูงเมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ หลายแบบ โดยในการเปรียบเทียบ เราจะเทียบจากจำนวนเงินเบี้ยประกันที่เท่ากัน โดยแต่ละแบบจะให้ทุนประกันที่ไม่เท่ากัน เพราะเงื่อนไขความคุ้มครองและการการันตีเงินบำนาญต่างกัน

หมายเหตุ
(แบบ 8560 นี้ปิดการขายแล้ว ส่วนแบบ 9960 และแบบ 8560 จี 15 ที่การันตีเงินบำนาญ 15 ปียังคงมีอยู่ค่ะ แต่ยังคงมีหน้าสินค้านี้ไว้สำหรับลูกค้าเก่าที่ทำไปแล้ว ไว้ดูรายละเอียด ซึ่งลูกค้าเก่าจะสามารถต่ออายุแบบเดิมต่อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา)

ตัวอย่างที่ 1

เรามาดูตัวอย่างกันนะคะ ถ้าสมมุติว่าคุณอายุ 49 ปี เป็นชายที่มีฐานภาษีสูงถึง 30% ต้องการทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษี 2 แสนบาทหลัง เปรียบเทียบแบบประกัน 3 แบบที่มีเบี้ยประกัน 100,000 บาท

 

  ทั้ง 3 แบบจะได้เงินบำนาญ 12% ของทุนประกันเหมือนกัน
  แบบ 8560 ให้ทุนประกันที่สูงที่สุด ดังนั้น แบบ 8560 เมื่อคูณกับ 12% จะได้เงินบำนาญต่อปีสูงที่สุด
  แบบ 9960 จะได้รับเงินบำนาญยาวถึงอายุ 99 ปีค่ะ เหมาะกับผู้ที่ต้องการวางแผนแบบระยะยาวนะคะ เพราะจะได้เงินบำนาญตลอดสัญญาสูงที่สุด 

ตัวอย่างที่ 2

คราวนี้เรามาลองดูอีกตัวอย่างของแบบ 8560 ที่ชายคนเดิน อายุ 49 ปี ต้องการทำประกันโดยกำหนดทุนประกัน 800,000 บาท ว่าจะได้ผลประโยชน์อะไรบ้างในแต่ละช่วงอายุ ทั้งเงินบำนาญ เงินที่ได้จากการลดหย่อนภาษี ความคุ้มครองชีวิต และยอดเบี้ยประกันที่ต้องชำระ ตามตารางค่ะ

สรุป

ชายคนนี้จะชำระเบี้ยประกันเป็นเวลา 11 ปีคือ ตั้งแต่อายุ 49 ถึง 59 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,427,360 
ใน 11 ปีนี้เขาจะได้ประหยัดภาษีอีกปีละ 30% ตามฐานภาษีของเขา เป็นเงินปีละ 38,928 คูณ 11 เท่ากับ 428,208
และเริ่มรับเงินบำนาญเมื่ออายุ 60 ปีละ 96,000 ได้ทุกปีจนถึงอายุ 85 เป็นเวลา 26 ปี เป็นเงิน 2,496,000 
รวมเงินที่จะได้รับ 2,496,000  + 428,208  เท่ากับ 2,924,208 
เมื่อหักเบี้ยประกันที่ชำระก็จะได้เงินผลประโยชน์ทั้งสิ้น 1,496,848 บาท

แบบเมืองไทย 8560 จึงเป็นแบบที่เหมาะทั้งจะลดหย่อนภาษี 2 แสนบาทหลัง และ เป็นแบบที่เน้นการเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อเกษียณ เพราะเป็นแบบที่มีเงินบำนาญต่อปีสูงมากแบบหนึ่งค่ะ

เบี้ยประกันและความคุ้มครองจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุและเพศที่ต่างกัน หากต้องการให้คำนวณเบี้ยและเงินบำนาญของอายุอื่นๆ สามารถแจ้งได้ตามช่องทางด้านล่างนี้นะคะ




เขียนโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล


ที่ปรึกษาทางการเงิน AFPT™
ผู้วางแผนการลงทุน IP License
ผู้จัดการขาย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันวินาศภัย
ตัวแทนอิสระกองทุนรวมบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด
ผู้แนะนำการลงทุน  IC License
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม


ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

บทความแนะนำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้