Multiple CI เคลมแล้ว เคลมอีก เบี้ยก็ไม่แพง

สัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองโรคร้ายแรงมัลติเพิลซีไอ (Multiple CI) จะเคลมได้เมื่อผู้เอาประกันได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือได้รับการผ่าตัดตามความคุ้มครองโรคร้ายแรงตามคำจำกัดความของโรคที่ให้ไว้ในสัญญาเพิ่มเติมนี้
จุดเด่น

* เบี้ยไม่สูง เพราะไม่มีความคุ้มครองชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น ไม่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ, ไม่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคร้ายแรงที่กำหนด (ตามตาราง) จ่ายเบี้ยสบำยๆ เริ่มต้นเพียง ปีละ 67 บาท
* มีความคุ้มครองครอบคลุมโรคร้ายต่างๆ 35 โรคและมีการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโรค ตามตาราง 
* เมื่อเคลมด้วยโรคในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้ว สามารถหยุดจ่ายเบี้ยประกันได้เลย โดยยังได้รับความคุ้มครองต่อไป ให้เคลมในกลุ่มโรคร้ายกลุ่มอื่นๆที่เหลือต่อได้อีก 10 ปี
* รับทันที 100 % ของจำนวนเงินเอาประกันที่ทำไว้เมื่อตรวจพบว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ตามคำนิยามของแต่ละโรค) และเคลมต่อในกลุ่มโรคอื่นๆ ได้ จึงมีความคุ้มครองโรคร้ายแรงตลอดสัญญาสูงสุดถึง 400%
* ทำได้ตั้งแต่ อายุ 7 - 65 ปี (ต่ออายุได้จนถึง อายุ 80ปี) 

หลักในการเลือกทำประกันสุขภาพ
* ควรเลือกตามความต้องการของเราหรือดูว่าในครอบครัวเรามีความเสี่ยงด้านไหนบ้าง เช่นถ้าเราต้องการเคลมเมื่อนอน รพ. ก็ควรซื้อแบบผู้ป่วยใน ถ้าต้องการเคลมเมื่อไปหาหมอแบบ OPD ก็ควรซื้อแบบผู้ป่วยนอก หรือหากคนในครอบครัวมีผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงก็อาจซื้อเป็นกลุ่มโรคร้ายแรงไว้
* เลือกจากลักษณะการเคลม หากซื้อแบบผู้ป่วยใน ไม่ว่าเป็นแบบแยกค่าห้องค่าใช้จ่ายหรือแบบเหมาจ่าย การเคลมจะต้องมีการเข้า รพ เพื่อรักษาตัว และเงินที่ได้จากการเคลมจะส่งตรงไปใ้ห้ รพ.เลย ไม่ได้นำเงินนี้มาให้เรา แต่สำหรับแบบ Multiple CI นี้ สามารถทำเคลมโดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาจาก รพ. แต่หากเราป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย จะเป็นการเคลมแล้วได้เงินก้อนเลย ให้เอาเงินนี้ไปบริหารเอง เราอาจนำไปรักษาตัว หรือเก็บไว้ให้คนที่เรารักก็ได้ 
* เลือกว่าต้องการความคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงหรือต้องการให้คุ้มครองชีวิตทุกกรณีทั้งเจ็บป่วยธรรมดาและอุบัติเหตุ เพราะหากเลือกแบบคุ้มครองชีวิตทุกกรณีก็เท่ากับว่าเราจะได้เงินก้อนนี้คืนแน่ๆ อาจใช้เป็นเงินสำหรับคนข้างหลังหรือคนที่เรารักไว้ใช้จ่ายเมื่อเราจากไป แต่แบบที่คุ้มครองชีวิตด้วย คุ้มครองโรคร้ายแรงด้วยก็จะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าค่ะ

* ควรเลือกทำคู่กับประกันชีวิตระยะยาว เพื่อที่ว่าหากเราเกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง เราจะได้มีประกันไว้ดูแลสุขภาพของเราในระยะยาว บริษัทฯไม่สามารถบอกเลิกการทำประกันของเราได้เพราะเราผูกประกันสุขภาพไว้กับสัญญาหลักคือประกันชีวิตแล้ว
* ควรเลือกสัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพที่สามารถต่ออายุได้ถึงเราแก่ เพราะการทำประกันสุขภาพจะมีโอกาสได้เคลมมากขึ้นเมื่อเราสูงอายุ หากเป็นสัญญาแบบสิ้นสุดสั้นๆ เมื่อเราอายุมากก็จะไม่มีอะไรคุ้มครองเรา จะซื้อใหม่ก็น่าจะซื้อไม่ได้เนื่องจากสุขภาพที่อาจมีปัญหาไปแล้ว ซึ่ง Multiple CI ก็ต่ออายุได้ถึง 80 ปี จัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างยาวนะคะ

ประกันโรคร้ายแรง
การจัดกลุ่มของโรคร้ายแรง

กลุ่มที่ 1 กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ
1. การผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยวิธี Bypass (Coronary Artery Bypass Surgery)
2. หัวใจวาย (Heart Attack)
3. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
4. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Replacement)
5. การผ่าตัดหลอดเลือดใหญ่ (Aorta Surgery)
6. ความดันโลหิตสูงของเลือดแดงในปอด (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
7. การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Heart Transplant)
8. อัมพาตจากโรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke)

กลุ่มที่ 2 กลุ่มโรคมะเร็ง
1. มะเร็ง (Cancer)
2. เนื้องอกในสมอง (Benign Tumor of The Brain)
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเปลี่ยนอวัยวะสำคัญ และโรคที่มีภาวะรุนแรงขั้นสุดท้ายของตับ ปอด และไต
1. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ (Major Organ Transplant)
2. โรคถุงน้ำในไตชั้นกลาง (Medullary cystic kidney)
3. โรคปอดเรื้อรัง (Chronic lung disease)
4. โรคตับเรื้อรัง (Chronic Liver Disease)
5. ไวรัสตับอักเสบชนิดรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
6. ไตวาย (Kidney Failure)
กลุ่มที่ 4 กลุ่มโรคร้ำยแรงอื่น ๆ
1. ภาวะอะแพลลิก หรือ ภาวะเสมือนพืช (Apallic Syndrome)
2. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
3. โรคโลหิตจางเนื่องจากไขกระดูกไม่ทำงาน (Aplastic Anemia)
4. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)
5. ตำบอด (Blindness)
6. อาการหมดสติ (Coma)
7. หูหนวก (Deafness)
8. สมองอักเสบ (Encephalitis)
9. อาการสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of speech)
10. แผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง (Major Burns)
11. โรคเซลล์ประสาทการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor Neuron Disease)
12. โรคที่มีการกระด้างในเนื้อสมองและไขสันหลัง (Multiple Sclerosis)
13. โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular Dystrophy)
14. อัมพาต (Paralysis)
15. โรคประสาทพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
16. โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
17. การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)
18. โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม (Progressive Scleroderma)
19. โรคลูปัส หรือโรค SLE (Systemic Lupus Erythematous) มีภาวะไตอักเสบร่วมด้วย

หมายเหตุ
บริษัทไม่คุ้มครองกรณีการพบหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงถึง ลักษณะใดต่อไปนี้
* ผู้เอาประกันเป็นโรคร้ายแรงทุกชนิด ซึ่งเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วย หรือการผ่าตัดของโรคร้ายแรงภายในระยะเวลารอคอย 90 วัน
* ผู้เอาประกันมีอาการ หรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง หรือ สัมพันธ์ หรือผลมาจากโรคร้ายแรงทุกชนิด ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลารอคอย 90 วัน ซึ่งมีนัยสำคัญเพียงพอที่ทำให้บุคคลทั่วไปต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ดูแลหรือดำเนินการรักษา

 

ปรึกษาหรือให้ออกแบบประกัน ติดต่อ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®  Line : 0849290088

นักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ Certified Financial Planner™ รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม

ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

บทความแนะนำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้