เทคนิคการวางแผนการเงินและส่งมอบทรัพย์สินของ คู่ชีวิต LGBTQ+

2757 จำนวนผู้เข้าชม  | 

LGBTQ

นอกจากปัญหาเรื่องการยอมรับของคนในครอบครัวแล้ว กลุ่ม LGBTQ+ ยังต้องเผชิญปัญหาด้านกฎหมายในการมีอำนาจจัดการแทนทั้งเรื่องทรัพย์สินและธุรกิจ จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมวางแผนการเงินและทำความเข้าใจเงื่อนไขในการส่งมอบทรัพย์สิน

การวางแผนการเงิน และ ส่งมอบทรัพย์สิน ของคู่ชีวิต LGBTQ+

ในปัจจุบันโลกเราเต็มไปด้วยความหลากหลายต่างเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งความคิด มุมมอง ทัศนคติ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องความรัก...ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เกิดเป็นกลุ่ม LGBTQ (L- Lesbian/ G-Gay/ B-Bisexual/ T-Transgender/ Q-Queer)

คนเราไม่ว่าจะเป็นใครหรือเป็นเพศไหน ต่างก็ควรจะมีการวางแผนการเงินที่เหมาะสม เพราะทุกคนก็ย่อมอยากมีอนาคตที่ดีเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว LGBTQ+ ที่อาจจะต้องเจอข้อจำกัดของชีวิตมากกว่าคนทั่วไป ก็ยิ่งต้องวางแผนการเงินและวางแผนชีวิตอย่างรัดกุมรอบคอบ และควรเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเตรียมก่อน มีโอกาสสำเร็จมากกว่า จึงควรเริ่มศึกษาถึงข้อกฏหมายของ LGBTQ+ ให้เข้าใจถ่องแท้ว่ามีจุดไหนที่จะต้องระวังหรือวางแผน ช่วยตอบโจทย์รูปแบบของชีวิตที่เราต้องการได้ เพื่อสร้างความมั่นคงของตัวเองและคู่ชีวิตของเราไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตาม ให้มีอนาคคร่วมกันในแบบที่เราวาดฝันไว้

ความหมาย "คู่ชีวิต" ตามพระราชบัญญัติคู่ชีวิต

พรบ. คู่ชีวิตได้มีการปรับแก้ไขร่างจนได้รับสิทธิ์ในระดับที่ใกล้เคียงกับ พ.ร.บ.คู่สมรส

➢ คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนที่จดทะเบียนกันตามพระราชบัญญัตินี้  ในการจดทะเบียนจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้ว รวมทั้งไม่สามารถจดทะเบียนสมรสซ้อนการจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ โดยการจดทะเบียนครั้งหลังไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดถือเป็นโมฆะ
➢ คู่ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือเสมือนอยู่ในฐานะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต

➢ คู่ชีวิตสามารถอุปการะบุตรบุญธรรมได้
➢ คู่ชีวิตสามารถฟ้องหย่าอีกฝ่ายได้เหมือนคู่สมรส และฟ้องร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
➢ คู่ชีวิตสามารถรับมรดกตามกฎหมายในกรณีที่คู่รักเสียชีวิต
และ สามารถเลือกใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งได้
➢ คู่ชีวิตมีสิทธิต่างๆ ในฐานะคนในครอบครัว เช่น เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาแทนเจ้าตัวได้ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมถึงเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์หากคู่ชีวิตถูกสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ

ข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน รวมทั้งการเตรียมส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่ชีวิต ตามข้อกฎหมายนี้คือ
➢ คู่ชีวิตสามารถเข้าถึงทรัพย์สินร่วมกันและสามารถจัดการทรัพย์สินได้
➢ คู่ชีวิตร่วมกันทำธุรกรรมได้ เช่น กู้ร่วมซื้อบ้านได้
➢ คู่ชีวิตมีสิทธิในการรับมรดกเช่นเดียวกับคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน

อย่างไรก็ตาม มีสิทธิ์บางอย่างที่คู่ชีวิตยังไม่ได้รับ เช่น สิทธิ์การรับสวัสดิการถ้าอีกฝ่ายเป็นข้าราชการ และ เรื่องการขอสัญชาติไทยให้กับคู่ชีวิต

การระบุคู่ชีวิต LGBTQ+ เป็นผู้รับประโยชน์ประกันชีวิต

คู่รักกลุ่ม LGBTQ ที่จะทำประกันชีวิตสามารถส่งต่อหลักประกัน และความมั่นคงให้กับคู่รักได้ โดยสามารถระบุผู้รับประโยชน์เป็นคนที่คุณรักแม้จะเป็นเพศเดียวกันได้ เพียงระบุความสัมพันธ์ ด้วยคำว่า “คู่ชีวิต” และหลายๆ บริษัทประกันชีวิตก็จะไม่มีการขอเอกสารแสดงความสัมพันธ์เพิ่มเติมอีก บางบริษัทก็ให้ใช้วิธียืนยันด้วยบัตรประชาชนเท่านั้น เพียงระบุว่าเป็นคู่ชีวิตก็สามารถระบุชื่อคู่รักของตนเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ การทำประกันชีวิตเป็นอีกวิธีหนึ่งในการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันแม้จะไม่มีเอกสารยืนยันทางราชการอื่นหรือไม่ได้จดทะเบียนตาม พรบ. คู่ชีวิตก็ตาม

เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกวันนี้โลกเราก้าวข้ามความไม่เท่าเทียมไปได้อีกส่วนหนึ่งแล้ว เป็นการช่วยเติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐาน และสิทธิที่พึงมีในฐานะคู่ชีวิต เช่น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการทรัพย์สิน การรับมรดก ตลอดจนระบุคู่รัก LGBTQ+ เป็นผู้รับประโยชน์การทำประกันชีวิต


ฟรี…บริการออกแบบประกันให้ตรงความความต้องการและยกผลประโยชน์ให้คู่รักของคุณ

เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน/ความคุ้มครองที่ต้องการ หรือ งบประมาณเบี้ยประกันต่อปี

แอดไลน์ : https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ  0849290088

วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันพร้อมเบี้ยและรายละเอียดให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ

ประกันสุขภาพ

ติดต่อสอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง

วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: @Wangpaan
Facebook: Wangpaan
Twitter: @Wangpaan
Youtube: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้