สถานการณ์โควิด ชวนให้คิดทำประกันสุขภาพ

1165 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันโควิด

วิกฤตโควิดที่ผ่านมา ทำให้คนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพ และการทำประกันสุขภาพ อัตราค่ารักษาพยาบาลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางออกหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่ารักษาเมื่อป่วยคือการทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมและเพียงพอ

บทความที่ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุลได้เขียนลงในนิตยสารของสมาคมนักวางแผนการเงิน TFPA Magazine จึงขอนำมาลงในเว็บให้ได้อ่านโดยทั่วถึงค่ะ

ประกันโควิด


การระบาดของโควิด
เป็นที่รู้กันดีว่าไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 (COVID-19) ได้มีการระบาดในประเทศไทยมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 แต่จนถึงปัจจุบัน ยังมีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น รวมถึงมีสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดเข้ามาถึงไทย ทำให้การควบคุมทำได้ยากและยังคงมีโอกาสกระจายในวงกว้าง 

ผลกระทบต่อรายได้และรายจ่าย
การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลให้ประชาชนใช้ชีวิตด้วยความกังวล ลดการใช้ชีวิตนอกบ้าน มีการกักตุนอาหาร ซื้ออุปกรณ์ป้องกันและทำความสะอาดต่างๆ ประชาชนระวังการใช้จ่ายมากขึ้น บริษัทต่างๆ ต้องควบคุมรายจ่ายเช่นกัน หลายบริษัทจำเป็นต้องปลดพนักงาน คนที่ไม่โดนปลดก็ถูกลดเงินเดือนแทน พนักงานออฟฟิศต้องเปลี่ยนไปทำงานที่บ้านแบบ work from home โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างพากันเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์เพื่อลดการระบาด แต่กลับยิ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายภายในบ้านเพิ่มขึ้น ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไหนจะต้องวางแผนการเงินให้ดี มีเงินเพียงพอ ในกรณีที่อาจจะโดนบริษัทปลดออกจากงานแบบกระทันหัน หรือต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้รักษาตัวเองหากติดโควิด-19

ทางเลือกในการรักษา 
การรักษาที่ไม่ทั่วถึงทำให้สถานการณ์โควิด-19 ยิ่งเป็นที่น่าจับตามอง เนื่องจากประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับการดูแลที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาตรวจเชื้อโควิด-19 ไม่พอเตียงผู้ป่วยแทบจะไม่เพียงพอในปัจจุบัน จนทางรัฐบาลต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่สามารถเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ โรงพยาบาลเอกชนได้ทำงานร่วมกับโรงแรมหรือที่พักเพื่อจัดตั้ง Hospitel หรือโรงแรมที่ใช้เป็นที่พักรักษาของผู้ป่วยโควิด-19 

ข้อดีของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือ Hospitel
คือ ความสะดวกสบายระหว่างการรักษา ผู้ติดเชื้อสามารถเลือกสถานที่ที่ต้องการเข้ารับการรักษาได้เอง สามารถเลือกอยู่ห้องเดี่ยวหรือ อัปเกรดไปอยู่ห้องที่มีขนาดใหญ่และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามความสะดวกสบายมักตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทั้งนี้การรักษาด้วยทางเลือกนี้ จึงเหมาะแก่ผู้ป่วยที่มีกำลังทรัพย์ที่มากพอ หรือผู้ป่วยที่ประกันสุขภาพในวงเงินที่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลที่จะตามมา 


ประกันโควิด 
ในทางกลับกัน การรักษาตามขั้นตอนของรัฐบาลอาจเหมาะกับผู้ป่วยที่มีกำลังทรัพย์จำกัดหรือต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลจะต่ำกว่า

แต่ก็ต้องยอมรับความสะดวกสบายที่ลดลงมา ไม่ว่าจะเป็นเตียงผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษารวมกับผู้ป่วยคนอื่นๆ และไม่สามารถเลือกสถานที่ของโรงพยาบาลสนามได้ฟังดูแล้ว การรักษาในโรงพยาบาลเอกชน หรือ Hospitel อาจดูสะดวกสบายกว่าโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลรัฐอยู่มาก แต่ก็มาพร้อมกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงตามไปด้วย

ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีทางเลือกในการรักษาจึงควรเตรียมความพร้อมเรื่องเงิน หรือประกันสุขภาพเพิ่มเติม

ประเภทของประกันที่เกี่ยวข้อง
เรื่องที่นิยมมากๆ ในช่วงการระบาดคงไม่พ้นการทำประกันโควิด-19 แต่ก็มีคำถามอีกเช่นกันว่า ควรซื้อประกันโควิด-19โดยเฉพาะหรือไม่ หรือทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลปกติดี บทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจความแตกต่างของประกันในแต่ละรูปแบบค่ะ

ประกันเฉพาะโควิด-19
เป็นประเภทประกันที่คนนิยมทำกันมากที่สุดในช่วงนี้ อาจจะเพราะด้วยชื่อประกันที่ตรงกับสิ่งที่คนกำลังกังวลอยู่ตอนนี้ บวกกับค่าเบี้ยประกันที่ค่อนข้างต่ำและเข้าถึงผู้คนได้แทบทุกกลุ่ม อีกทั้งระบบสาธารณะสุขและการรักษาพยาบาล จากภาครัฐยังไม่ให้ความชัดเจนเท่าที่ควร

สำหรับประกันโควิด-19 หลักๆ ที่เสนอกันในตลาด สามารถแบ่งลักษณะความคุ้มครองได้ดังนี้

1. "เจอ จ่าย จบ" ค่าชดเชยเป็นเงินก้อนกรณีการติดเชื้อ ผู้เอาประกันสามารถ
รับเงินก้อนทันทีตามวงเงินที่ทำประกันโดยไม่ต้องมีการรักษาพยาบาล ไม่ต้องแอดมิตและไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินในการเคลมสินไหม เหมาะกับคนที่ชอบความสะดวกสบาย ไม่ต้องกังวลว่าค่ารักษาพยาบาลแต่ละส่วนจะเกินวงเงินหรือไม่

2. เงินชดเชยรายได้ เป็นรายวันหากต้องพักรักษาตัว
ในโรงพยาบาล ผู้เอาประกันจะได้รับเงินชดเชยโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใบเสร็จในการเคลม ขอเพียงแค่มีเอกสารยืนยันว่าแอดมิตในโรงพยาบาลก็เบิกเงินสินไหมได้ตามจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล เช่น ทำประกันชดเชยรายได้ร้ายวันไว้ 1,000 บาทต่อวัน หากนอนโรงพยาบาลรวม 20 วัน รับเงินชดเชย 20,000 บาท แบบชดเชยรายได้จะเหมาะสำหรับคนที่เป็นกังวลว่าจะขาดรายได้ระหว่างที่เข้ารักษาตัวด้วยโควิด-19 ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระและความกังวลใจเรื่องรายรับได้ส่วนหนึ่ง

3. ค่ารักษาพยาบาลจากโควิด-19  หากพบว่าติดเชื้อ และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel จะต้องนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของประกันที่ทำไว้หรือไม่ ส่วนใหญ่
แล้วมักจะให้เป็นวงเงินค่ารักษาต่อครั้งมา โดยแบ่งเป็นวงเงินสำหรับการรักษาแบบทั่วไป และวงเงินสำหรับการรักษาในภาวะโคม่า ความคุ้มครองลักษณะนี้จึงเหมาะกับคนที่กังวลในค่ารักษาที่อาจสูงเกินกว่าที่ประเมินไว้ ยิ่งในกรณีที่การติดเชื้อเพิ่มความรุนแรงจนอยู่ในสภาวะวิกฤต จึงต้องการความคุ้มครองแบบนี้มารองรับค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่จะตามมา

ตัวอย่างเช่น หากทำประกันที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 200,000 บาท และทำประกันคุ้มครองค่ารักษาจากภาวะโคม่า 2,500,000 บาท เมื่อเข้ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเริ่มต้นที่ไม่ใช่ภาวะโคม่า* จะเคลมค่ารักษาได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยใช้ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐาน และหากต่อมา เข้าสู่ภาวะโคม่า จึงจะสามารถเคลมสินไหมด้วยใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินในจำนวนที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 2,500,000 บาท

*หมายเหตุ ภาวะโคม่า หมายถึง การสลบหรือหมดความรู้สึกที่ได้รับวินิจฉัย
โดยอายุรแพทย์หรือประสาทศัลยแพทย์ และตรวจพบลักษณะต่อไปนี้ทุกข้อ
A. ต้องอาศัยเครื่องช่วยชีวิต
B. ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างน้อย 96 ชั่วโมง
C. สมองถูกทำลายอย่างถาวร ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำ ภายหลัง 30 วันจากวันที่สลบหรือหมดความรู้สึก

ประกันโควิด

.

ทั้งนี้ในปัจจุบันบริษัทประกันได้นำเสนอประกันโควิด-19 ที่ให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป ผู้เอาประกันสามารถเลือกแบบประกันที่ทั้งเบี้ยและแบบความคุ้มครองตรงตามความต้องการของตนเองได้ประกันสุขภาพทั่วไปคุ้มครองโควิดด้วย

นอกจากประกันโควิด-19 แล้ว หลายคนอาจไม่รู้ว่าประกันสุขภาพทั่วไปให้ความคุ้มครองโควิด-19 ด้วยเช่นกันการรักษาโควิด-19 ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะต้องแอดมิตเพื่อรักษาและเฝ้าดูอาการ ไม่ว่าจะเป็นในโรงพยาบาล Hospitel หรือโรงพยาบาลสนามก็ตาม โดยการแอดมิตเพื่อรักษาในที่นี้ รวมอยู่ในความคุ้มครองสุขภาพแบบผู้ป่วยใน ซึ่งเราจะสามารถเคลมค่ารักษาได้ตามวงเงินของแผนประกันที่เราซื้อไว้ พูดง่ายๆ คือ ใครที่มีประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยในอยู่แล้ว ยิ่งเป็นแบบเหมาจ่ายวงเงินสูง อาจไม่จำเป็นต้องซื้อประกันโควิด-19 ก็ได้ แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่มีประกันสุขภาพเลย แนะนำให้ทำประกันสุขภาพทั่วไปไว้ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากถ้าหากติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว การทำงานของปอดอาจไม่สมบูรณ์ จึงอาจทำให้ประกันสุขภาพที่ทำหลังจากนั้น ถูกยกเว้นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ลักษณะการเคลมค่ารักษาโควิด-19 จากประกันสุขภาพที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยปกติจะเหมือนการเคลมเมื่อเจ็บปวยทั่วไป หากเป็นการแอดมิตที่โรงพยาบาลในเครือของบริษัทประกันชีวิต ก็สามารถทำ fax claim คือ เป็นการที่โรงพยาบาลเบิกกับบริษัทประกัน ดังนั้นผู้เอาประกันจึงไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน

ส่วนการเคลมจากประกันโควิด-19 ที่ทำไว้กับบริษัทประกันภัย มักเป็นแบบสำรองจ่ายก่อน แล้วค่อยนำเอกสารไปเบิกเคลมกับบริษัทประกันภัยซึ่งจะมีความยุ่งยากกว่า 

โควิด-19 อยู่ภายใต้กลุ่มที่ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครอง นอกจากประกันสุขภาพแบบที่คุ้มครองการเจ็บป่วยแล้ว ก็ยังมีประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองโควิด-19 ด้วย ลักษณะจะคล้ายกับประกันโควิด-19 ในท้องตลาดที่มักจะมาในลักษณะเจอ จ่าย จบ หรือคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชยรายวันเมื่อเข้ารักษาตัวจากโรคที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะมีประกันโรคร้ายแรงหลายตัวที่รวมการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในกลุ่มโรคที่คุ้มครองด้วย

 
ประกันการแพ้วัคซีน

อีกประเด็นที่หลายคนกังวลพอๆ กับการติดเชื้อนั่นคือ การแพ้วัคซีนโควิด-19 สำหรับในประเทศไทยซึ่งเริ่มทำการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 มาได้ระยะหนึ่ง โดยเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงก่อน ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคชีนส่วนหนึ่งมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงเกิดขึ้น บางรายมีอาการไม่พึงประสงค์หรือเกิดอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย แต่บางเคสเกิดอาการแพ้ ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลใจต่อความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 และชั่งใจว่าถึงจะป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ต้องมาเสี่ยงว่าจะมีผลข้างเคียงเกิดกับตัวเองจากการแพ้วัคนหรือไม่ บริษัทประกันหลายที่จึงเพิ่มความคุ้มครองกรณีแพ้วัคซีนเข้าไปด้วย เพื่อจะช่วยให้ประชาชนเบาใจลงในการเข้ารับวัคซีนโดยจะคุ้มครองการแพ้เมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาล หรือมีเงินชดเชยให้ตามวงเงินที่ทำไว้ และอาจมีค่าปลอบขวัญให้ด้วยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะค่ารักษาจะแบ่งเป็นค่ารักษาแบบทั่วไปกับค่ารักษาเมื่อเกิด
ภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีน

บทสรุป
จะเห็นได้ว่ามีปัญหามากมายที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข การควบคุมโรค สุขภาพจิต และผลกระทบต่อการเงินในระดับครัวเรือน ในช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้ การทำประกันจึงอาจจะเป็นหลักประกันที่ช่วยให้หลายๆ คนรู้สึกเบาใจได้ว่าหากมีเหตุอะไรเกิดขึ้น จะยังมีความคุ้มครองจากประกันที่ทำไว้มารองรับคำาใช้จ่ายนี้ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละคนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรพิจารณารายละเอียดแบบประกันที่เหมาะสมกับตนเอง ทั้งในเรื่องลักษณะความคุ้มครอง วงเงินที่ได้และเบี้ยประกันที่ต้องการจ่าย สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง หากไกลจาก
ความเจ็บป่วยค่ะ

ประกันโควิด

.Cr : WWW.TFPA.OR.TH

=========================

บทความประกันสุขภาพยอดนิยม

 D Health Plus VS D Health เปรียบเทียบเบี้ย และ ความคุ้มครอง ลูกค้าดีเฮลท์เก่าควรอัพเป็นแผนใหม่หรือไม่ https://www.wangpaan.com/content/11725/d-health 
 ประกันสุขภาพเหมาจ่าย อีลิท เฮลท์ พลัส ควบประกันชีวิตชำระเบี้ยสั้น มีเงินคืนสูง https://www.wangpaan.com/content/11317/health-insurance
 ประกันโรคร้ายแรง รับเงินสดแบบเจอจ่ายทันที ตั้งแต่อายุ 55 ถึง 80 ต้องเตรียมเงินจ่ายเบี้ยเท่าไหร่ https://www.wangpaan.com/content/11098/ci
 ประกันสุขภาพเด็กเล็ก วงเงินรักษาพยาบาล 1,000,000 บาทต่อปี จะเคลมอะไรได้บ้าง https://www.wangpaan.com/content/11012/kids-health
 ประกันชดเชยรายได้/ชดเชยรายวัน แบบไหนดี เคลมอะไรได้บ้าง
 ประกันผู้ป่วยนอก OPD คุ้มครองอะไรบ้าง เบี้ยเท่าไหร่ shorturl.at/dePR6
 เป็นโควิด COVID-19 ทำประกันได้ไหม https://www.wangpaan.com/content/10943/covid
 ข้อยกเว้นทั่วไป 26 ข้อ ของประกันสุขภาพ มีอะไรบ้าง? https://www.wangpaan.com/content/9379/health-insurance 


=========================
ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ :  0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS

วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันหลากหลายให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ 


ประกันแบบไหนดี

ติดต่อสอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT Line: 0849290088
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner)
ผู้วางแผนการลงทุน (IP License) และ ผู้แนะนำการลงทุน (IC License)
ผู้จัดการขาย Triple A  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง วางแผน.com (www.wangpaan.com)
Facebook: Wangpaan

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้