6021 จำนวนผู้เข้าชม |
ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน
ซื้อประกันบำนาญเท่าไหร่ถึงจะคุ้ม ทำเท่าไหร่ถึงจะลดหย่อนภาษีได้มากที่สุด เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ตัวอย่างเบี้ยประกันที่จะทำให้ประหยัดภาษีอย่างถูกกฎสรรพากร
ประกันชีวิต ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี
ประกันบำนาญเมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ถ้ายังไม่มีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่ใช้สิทธิลดหย่อนแบบแสนแรกเลย สามารถนำเบี้ยประกันบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิต ก็แปลว่าเราจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท
ถึงแม้จะมีการเสียภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ก็ควรคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก เพราะอาจทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะได้เงินคืนภาษีกลับมา
ถ้าใครมีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพแล้ว แต่ยังไม่เต็ม 100,000 บาทแรก สามารถใช้เบี้ยประกันบำนาญไปลดหย่อนในส่วนของโควต้าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปได้
ตัวอย่างที่ 1
สมมติว่า ถ้าปีนี้เรามีรายได้ 350,000 บาทต่อเดือน ซื้อประกันชีวิตระยะสัญญา 10 ปีขึ้นไปแล้ว แบบจ่ายเบี้ยปีละ 70,000 บาท ซื้อกองทุนรวม RMF ไว้ 250,000 เราควรจะซื้อประกันชีวิตบำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้อีกเท่าไหร่ ต้องเบี้ยประกันปีละเท่าไหร่ จึงจะสามารถใช้สิทธิได้เต็มจำนวน และถ้าฐานภาษีของเราคือ 20% จะประหยัดภาษีไปได้เป็นเงินเท่าไหร่
วิธีคิด
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1
ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตปกติว่าถึง 100,000 บาทหรือยัง
ผลการคำนวณ 100,000 – ประกันชีวิต 70,000 คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันในแสนแรกอีก 30,000 บาท
ขั้นที่ 2
ตรวจสอบสิทธิของประกันชีวิตบำนาญรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 ว่าเหลือสิทธิอีกเท่าไหร่
ผลการคำนวณ 500,000 – RMF 250,000 คือเหลือสิทธิลดหย่อนด้วยประกันบำนาญอีก 250,000 บาท (แต่จากข้อ 1 เหลือสิทธิลดหย่อนได้ 30,000 ดังนั้นจึงทำให้ประกันบำนาญใช้สิทธิลดหย่อนได้ 230,000)
ขั้นที่ 3
ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนประกันบำนาญไม่เกิน 15% ของเงินได้ (ไม่เกิน 200,000)
ผลการคำนวณ 350,000 x 12 = รายได้ปีละ 4,200,000 x15% คือมีเพดานสูงสุดไม่เกิน 630,000 บาท
แต่จากขั้นที่ 1 และ 2 คำนวณเหลือสิทธิแบบแสนแรกอยู่ 30,000 + และแบบสองแสนหลังอยู่ 200,000 นั่นคือ เราจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในโควต้าประกันบำนาญได้ไม่เกิน 230,000 บาท
ผลการคำนวณภาษีที่ประหยัด
ต้องดูฐานภาษีเป็นหลัก สมมติเราเสียภาษีอยู่ที่ขั้นภาษีที่อัตรา 20% ก็เท่ากับว่า เราจะสามารถประหยัดภาษีไปได้อย่างน้อย 230,000 x 20% = 46,000 บาทต่อปี
เขียนบทความและบริการให้คำปรึกษาการทำประกันลดหย่อนภาษีโดย ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล นักวางแผนการเงิน CFP
เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน/ความคุ้มครองที่ต้องการ หรือ งบประมาณเบี้ยประกันต่อปี
แอดไลน์ : https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS
หรือ 0849290088
วางแผนดอทคอมจะส่งแบบประกันพร้อมเบี้ยและรายละเอียดให้ทางไลน์โดยเร็วที่สุดค่ะ
หากใครมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม
ติดต่อ และ ติดตามอัพเดตเรื่องน่ารู้ทางการเงินกับพี่แผน ได้ทาง
วางแผน.com (wangpaan.com)
Line: https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS หรือ 0849290088
Line ID : napatcha0088
Facebook: Wangpaan
อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscript จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ