ข้อควรระวังในการวางแผนการเงินของคู่รัก คู่ชีวิต LGBTQ+ พร้อมคำแนะนำ

322 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Lgbtq

1. สถานการณ์ LGBTQ+ ในไทย คำว่า คู่ชีวิต vs. คู่สมรส มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ส่งผลต่อการวางแผนการเงินไหม

คำว่า LGBTQ ก็คือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และที่มีเครื่องหมาย + ต่อท้ายก็คือเราเปิดกว้างว่า นอกเหนือจาก 5 กลุ่มนี้ เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ เรายังหมายรควมถึง กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศอื่นๆ อีก

ปัจจุบัน คำที่ใช้กับความสัมพันธ์โดยทั่วไป ถ้าเป็นคู่รักแบบชายหญิง ใช้คำว่า คู่สมรส และมีทะเบียนสมรสเป็นข้อผูกมัดตามกฎหมาย 
ส่วนคำที่ใช้กับความสัมพันธ์เมื่อเป็นคู่รักแบบชายชาย หรือหญิงหญิง ใช้คำว่า คู่ชีวิต และไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอกฎหมาย พรบ.คู่ชีวิต หรือสมรสเท่าเทียม ซึ่งกลางปี 2565 ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต หรือ สมรสเท่าเทียม ผ่านมติรับหลักการของสมาชิกรัฐสภา ทำให้คู่รัก LGBTQ+ มีความหวังจะได้จดทะเบียนสมรสกัน หวังว่าจะมีกฎหมายรองรับสิทธิต่างๆ

แต่ ณ ปัจจุบัน เมื่อยังไม่มีกฏหมายมารองรับ จึงทำให้ความสัมพันธ์ของ LGBTQ มีความแตกต่างจากการเป็นคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ความมั่นคงของความสัมพันธ์ การวางแผนสร้างทรัพย์สิน การขอสินเชื่อ การลดหย่อนภาษี การดูแลสุขภาพ การรับบุตรบุญธรรม การส่งต่อทรัพย์สิน ความมั่นคงของชีวิต การที่กฎหมายยังไม่ได้ให้สิทธิ์อย่างเต็มที่ ก็อาจส่งผลกระทบไปถึงการเป็นที่ยอมรับของครอบครัวและสังคม

จากการคุยกับคุณหมอ ตามหลักทางการแพทย์แล้ว ความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่การเจ็บป่วย ไม่ได้เป็นโรค ไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิตใจ คนรอบข้างรวมทั้งครอบครัวจึงควรให้การยอมรับ และปฏิบัติกับคนกลุ่มนี้เหมือนกับคนทั่วไป และเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน โดยนอกจากจะเปิดใจของตัวเองแล้วยังอยากให้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการยอมรับ LGBTQ+ ในสังคมด้วย 


2. เมื่อเลือกแล้วว่าชีวิตคู่ของเราเป็น LGBTQ+ จะมีแนวทางการจัดการเรื่องการเงิน ทรัพย์ของ LGBTQ เช่น การทำประกัน การกู้ร่วม การทำพินัยกรรม อย่างไร

หลักการวางแผนการเงิน โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตาม อยากให้วางแผนแยกเป็น 3 ระยะ คือระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว

ระยะสั้น 3-5-10 ปี
ระยะกลาง 10-20-30 ปี
ระยะยาว 30-40-50 ปี และวางแผนเมื่อต้องจากกัน

เรื่องสินระหว่างสมรส หรือทรัพย์สินที่ร่วมกันหา เนื่องจากยังไม่สามารถจดทะเบียนสมรส จึงต้องวางกฏเกณฑ์ด้วยข้อตกลงกันเอง สินทรัพย์ที่ช่วยกันหาระหว่างเป็นคู่กัน ก็เข้าบัญชีธนาคารแบบบัญชีร่วม แต่หากไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมได้ ก็ควรนำมาแบ่งกันแล้วเข้าบัญชีแยก หรือสิ่งที่สร้างร่วมกันก็ลงเงินกันคนละครึ่ง และลงชื่อทั้ง 2 คนเป็นเจ้าของคนละครึ่งเท่าๆกัน

การขอสินเชื่อ หากทำธุรกิจร่วมกัน ก็จดนิติบุคคลด้วยชื่อทั้ง 2 คน และยื่นกู้ร่วมกัน การกู้ร่วมจะเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้นหรือหากซื้อบ้านก็สามารถใส่ 2 ชื่อได้และกู้ร่วมกันได้เช่นกัน 

หากไม่อยากกู้ร่วม หรือหากไม่สามารถกู้ร่วมได้ ก็อาจใช้วิธีคนหนึ่งซื้อบ้าน อีกคนหนึ่งซื้อรถ แล้วใส่ชื่อของแต่ละคนที่เป็นผู้จ่ายเงินซื้อของชิ้นนั้นๆ ก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยระบุที่มาของเงินที่จะแปลงเป็นทรัพย์สิน หรือหากอีกฝ่ายออกเงินบางส่วน เช่นเงินดาวน์ ก็อาจใช้วิธีทำสัญญาเงินกู้ไว้ แล้วค่อยผ่อนคืนทีหลัง เผื่อไว้กรณีต้องแยกจากกันจะได้ไม่ต้องมีปัญหาทีหลัง

การวางแผนเกษียณ ควรเตรียมการไว้ในกรณีที่จะต้องดูแลตัวเองในบั้นปลายชีวิต โดยการกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมเงินไว้ยามเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงาน โดยในส่วนนี้ รวมถึงการทำประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ประกันออมทรัพย์ ปัจจุบันมีหลายๆ บริษัทประกัน ที่สามารถระบุชื่อคู่ชีวิต LGBTQ เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้โดยไม่ต้องมีเอกสารรับรองใดๆ แล้ว สามารถทำประกันคนใดคนหนึ่ง แล้วให้อีกคนรับผลประโยชน์ก็ได้ แต่อยากแนะนำให้ทำประกันทั้ง 2 คน และให้ผู้รับผลประโยชน์ไขว้กัน จะได้มีประกันคอยดูแลทั้งด้านการลดหย่อนภาษีด้านสุขภาพ และด้านการออมเงิน 

===================
สอบถามเบี้ยอายุเฉพาะคุณได้ที่ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ตัวแทนประกันชีวิตตำแหน่งผู้จัดการ คุณวุฒิ MDRT
ให้วางแผนดอทคอมดูแลเรื่องประกันให้คุณสิคะ เรามีบริการหลังการขายตลอดอายุสัญญา

ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS 

===================

3. ถ้าในอนาคต ชีวิตคู่ดำเนินมาถึงวันที่จากกัน ไม่ว่าจะจากเป็น หรือจากตาย ควรต้องวางแผนเตรียมตัวอย่างไร


การวางแผนเรื่องจากกัน แบ่งเป็นแบบจากแบบมีชีวิต กับ จากด้วยการเสียชีวิต

หากจากเป็น
ด้วยเหตุที่ความสัมพันธ์ถึงจุดที่ต้องหยุด ก็แยกกันด้วยดี เนื่องจากแนะนำให้วางแผนระบุทรัพย์สินแยกกัน หรือใครเป็นผู้จ่ายเงินค่าอะไร ก็มีชื่อในสินทรัพย์นั้นๆ เมื่อถึงจุดแยกกัน ถ้าเป็นแบบที่แยกชื่อกันตั้งแต่แรก ปัญหาจะน้อย ก็ต่างคนต่างไป แต่หากเป็นแบบกู้ร่วม ทำธุรกิจร่วม หรือ บ้านที่มีชื่อ 2 คน ก็ต้องตกลงกันว่า จะขายหรือจะแยกชื่อออกด้วยทรัพย์สินจำนวนเท่าๆ กันได้ ส่วนชื่อที่เป็นผู้รับผลประโยชน์ในประกันชีวิตที่ทำไว้ สามารถไปขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ มี 2 เรื่อง คือ

1. ผู้ทำประกันจะเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อยังไม่ส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้รับประโยชน์ และผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทประกันว่าตัวเองขอรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ฉบับนั้น​​ ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ทำประกันเก็บเล่มกรมธรรม์ไว้กับตนเอง ไม่ต้องส่งมอบให้ผู้รับผลประโยชน์ เพื่อที่วันข้างหน้าหากความสัมพันธ์สิ้นสุด ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ภายหลังได้ โดยไปยื่นเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่บริษัทประกัน

2. หากผู้ทำประกันไม่ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้ และเสียชีวิต เงินสินไหมมรณกรรมนั้น จะไม่สามารถส่งมอบให้คู่ชีวิต LGBTQ+ ได้ เนื่องจากกรมธรรม์ที่้ไม่ระบุชื่อผู้รับ เงินสินไหมจากประกันนั้นจะตกเป็นของกองมรดก นั่นคือทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามกฎหมายที่ระบุว่าต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดหรือคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสเท่านั้น

หากจากตาย
อาจด้วยเหตุความชรา หรือความเจ็บป่วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า มี 2 เรื่อง คือการส่งมอบทรัพย์สินและการตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้าย

1. การส่งมอบทรัพย์สิน วิธีที่แนะนำคือ การทำพินัยกรรมและการทำประกันระบุชื่อคู่ชีวิตเป็นผู้รับผลประโยชน์

การทำพินัยกรรม ทำได้ทั้งแบบที่เป็นการเขียนเองไม่ต้องมีพยานแต่ควรมีผู้รับรู้ กับแบบที่ทำโดยมีต้องมีพยานลงลายมือชื่อ

แบบแรก พินัยกรรมที่เขียนเองด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ

แบบนี้จำเป็นจะต้องมีวันที่ หากไม่ระบุวันที่ถือเป็นโมฆะ และหากมีรอยแก้ไขต้องเซ็นกำกับพร้อมลงวันที่ที่แก้ไขเสมอ แบบนี้ไม่ต้องมีพยานแต่ควรมีผู้รับรู้ มิฉะนั้นเมื่อเสียชีวิต หากไม่มีคนพบพินัยกรรมก็มีค่าเท่ากับไม่มีการทำพินัยกรรม ทรัพย์สินก็ไม่อาจถึงมือคู่ชีวิต

แบบที่ 2 พินัยกรรมที่ทำโดยมีต้องมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน

แบบนี้อาจทำเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา เป็นเอกสารฝ่ายเมือง เป็นเอกสารลับหรือเป็นพินัยกรรมที่ทำด้วยวาจาก็ได้ แบบนี้ข้อควรระวังก็คือ คู่ชีวิตที่จะให้รับมรดกต้องไม่เซ็นเป็นพยาน เพราะคนที่เป็นพยานจะไม่มีสิทธิ์ในการรับมรดก

การทำประกันระบุชื่อคู่ชีวิตเป็นผู้รับผลประโยชน์ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันบำนาญ ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือประกันสะสมทรัพย์ การมอบทรัพย์สินด้วยวิธีทำประกันนี้ มีข้อจำกัดน้อย มีปัญหาน้อย เพราะผลประโยชน์จะยึดตามที่กรมธรรม์ระบุไว้ คนอื่นหรือแม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่สามารถแย้งได้ ดังนั้น การทำประกันแล้วระบุผู้รับประโยชน์จึงเปรียบเสมือนการทำพินัยกรรมฉบับหนึ่งที่ผลประโยชน์ตกไปยังผู้รับประโยชน์โดยตรง และสินไหมมรณกรรม สามารถส่งมอบให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ โดยไม่ถือว่าเงินก้อนนี้เป็นมรดก และไม่ต้องผ่านขั้นตอนร้องศาลหรือรอคำสั่งศาลหรือรอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และไม่ต้องเสียภาษีมรดกอีกด้วย

2. การตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้าย หากถึงขั้นที่ผู้ป่วย LGBTQ+ ไม่สามารถสื่อสารได้แล้ว ปัญหาก็คือ แพทย์ที่ทำการรักษา ต้องการติดต่อกับคนในครอบครัวที่เป็นญาติทางสายเลือดเพื่อให้เป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกวิธีดูแลผู้ป่วย โดยไม่ยอมรับคู่ชีวิต ของผู้ป่วย LGBTQ+ หรือผู้ที่ผู้ป่วย LGBTQ+ ใช้ชีวิตอยู่ด้วย ให้มาเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกกระบวกนการรักษาหรือการดูแลผู้ป่วย LGBTQ+

แต่ผู้ป่วย LGBTQ ที่ไม่ได้ติดต่อกับครอบครัวหรือญาติตามสายเลือดมานาน และมาอยู่กับคู่ชีวิต อาจไม่สามารถติดต่อครอบครัวได้ ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ก็จะทำให้การรักษาล่าช้าไม่ทันการณ์ หรือหากติดต่อได้ ก็ยังเป็นปัญหาต่อการเลือกกระบวนการรักษาและดูแลผู้ป่วย LGBTQ เพราะญาติทางสายเลือดก็ไม่ทราบว่าผู้ป่วยต้องการการดูแลแบบใด ด้วยเหตุที่ไม่ได้อยู่ร่วมกันมานาน และไม่รู้ระยะของโรคอย่างใกล้ชิด ทำให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการได้รับการรักษาของผู้ป่วย LGBTQ+

วิธีแก้ไขและข้อแนะนำ
ขณะเริ่มรักษา ควรตกลงเรื่องรายละเอียดการรักษาล่วงหน้ากับแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นบันทึกไว้ในเวชระเบียน และระบุคู่ชีวิตเป็นผู้มีอำนาจในการร่วมกันปรึกษาหารือกับแพทย์ หรือ อาจหาทางติดต่อคนในครอบครัวหรือญาติสนิทถ้ามี เผื่อกรณีฉุกเฉินและทำความเข้าใจกันในกระบวนการรักษาที่ต้องการให้เรียบร้อยก่อน หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้ผู้ป่วย LGBTQ ทำ Living Will หนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์แล้วระบุชื่อคู่ชีวิตเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแล และปรึกษาร่วมกับแพทย์ ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาตนเองไว้ล่วงหน้าได้


ผู้รับผลประโยชน์
สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT2021-2023
Tel&Line : 0849290088 หรือคลิกที่นี่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS  

ตัวแทนประกันชีวิต ตำแหน่งผู้จัดการขาย AAA เมืองไทยประกันชีวิต เลขที่ใบอนุญาต 5401078254
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner) เลขที่ CFPTH190000029
ผู้วางแผนการลงทุน IP License และ ผู้แนะนำการลงทุน IC License เลขที่ 086641
Facebook คลิก : วางแผนดอทคอม
Tiktok คลิก : www.tiktok.com/@wangpaan.com   

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ... 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้