อายุเกิน 50 ใกล้เกษียณแล้ว จะทำประกันบำนาญแบบไหนดี ลดหย่อนภาษี เตรียมเงินเกษียณ

904 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันบำนาญ

ใกล้เกษียณจะวางแผนทำประกันบำนาญแบบไหนดี

 สำหรับคนอายุ 50-55 ปี แนะนำประกันบำนาญที่จ่ายเบี้ย 5 ปี เพื่อเน้นรับเงินบำนาญสูง
 หากอายุเข้าใกล้วัยเกษียณมากๆ เช่น อายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป จะวางแผนเกษียณด้วยประกันบำนาญแบบชำระเบี้ยงวดเดียว และรับเงินบำนาญปีถัดไป

ปัจจัยในการเลือกแบบประกันบำนาญ
  คำนวณเงินที่จำเป็นต้องใช้หลังเกษียณจากรายจ่ายในปัจจุบัน บวกด้วยค่าเงินเฟ้อ
  คำนวณเงินที่จำเป็นต้องใช้หลังเกษียณจากการประมาณ 50-70% ของรายได้ในปัจจุบัน แล้วให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงรายได้ในปีที่เกษียณ
  เลือกด้วยการดูจำนวนปีที่ต้องการลดหย่อนภาษีให้สอดคล้องกับจำนวนปีที่ชำระเบี้ย


  กลุ่มอายุ 50-55 ปี 
ทำแบบประกัน รีเทิร์น รีไทร์ 8505 (บำนาญลดหย่อนได้) เบี้ย 5 งวด

  กลุ่มอายุ 56 ปีขึ้นไป 
ทำแบบประกัน เมืองไทย 8501 (บำนาญลดหย่อนได้) เบี้ย 1 งวด รับบำนาญปีถัดไป

 

 

 
ตัวอย่าง ชาย อายุ 55 ทำแบบเบี้ย 5 งวด
ㆍ ต้องการวางแผนเกษียณ และ เบี้ยที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ปีละ 200,000
ㆍ วางแผนดอทคอมแนะนำแบบประกัน รีเทิร์น รีไทร์ 8505 (บำนาญลดหย่อนได้)
ㆍ ชำระเบี้ย 5 ปี ปีละ 200,000 รวมเป็นเงิน 1,000,000
ㆍ ได้ทุนประกันหรือจำนวนเงินเอาประกัน 279,963 ซึ่งเป็นตัวเลขที่นำไปคำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับเมื่อเกษียณ
ㆍ รับบำนาญปีละ 12%ของทุนประกัน คือ 12% x 279,963 = 55,992
ㆍ เริ่มรับบำนาญตั้งแต่อายุ 60 ถึง 85 เป็นเวลา 26 ปี
ㆍ หากอยู่ถึงสิ้นสุดสัญญา จะได้รับเงินรวม 55,992 x 26 = 1,455,807
ㆍ หากเสียชีวิตในช่วงก่อนรับเงินบำนาญ จะได้ความคุ้มครองชีวิต 105% ของเบี้ยประกันที่ชำระไปแล้ว เช่น เสียชีวิตในปีกรมธรรม์ที่ 4 เมื่อชำระเบี้ยแล้ว 200,000 x 4 = 800,000 ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงิน 105% ของ 800,000 = 840,000 บวกกับผลประโยชน์ที่ได้ประหยัดภาษีจากการใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว
ㆍ หากเสียชีวิตในช่วงที่รับเงินบำนาญไปแล้ว จะได้รับความคุ้มครองชีวิต เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญที่ยังไม่ได้รับมาจนครบ 15 ปี (หมายความว่า เอาเงินบำนาญต่อปี มาคูณกับ 15 แล้วหักด้วยเงินบำนาญที่รับไปแล้ว เหลือเท่าไหร่ มาคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบัน เพราะแทนที่จะได้รับปีละครั้ง ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินทุกปีที่เหลือนี้เป็นเงินก้อนเดียว จึงต้องมีการคำนวณเงินในอนาคตเป็นเงินในปัจจุบัน) บวกกับผลประโยชน์ที่ได้ประหยัดภาษีจากการใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว

สรุป
กรณีถือกรมธรรม์จนสิ้นสุดสัญญา
  จ่าย 1,000,000
  รับ 1,455,807

===================
สอบถามเบี้ยอายุเฉพาะคุณได้ที่ ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล ตัวแทนประกันชีวิตตำแหน่งผู้จัดการ คุณวุฒิ MDRT2021-2024

ฟรี…บริการออกแบบประกันของคุณความความต้องการ เพียงแจ้งชื่อ อายุ เพศ แบบประกัน สามารถกำหนดเบี้ยที่จะจ่ายและเงินที่จะรับแต่ละปี ส่งมาที่
แอดไลน์ : 0849290088 หรือคลิก https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS    
===================

 


ตัวอย่าง ชาย อายุ 60 ทำแบบเบี้ยงวดเดียว รับบำนาญปีถัดไป
ㆍ ต้องการวางแผนเกษียณ และ เบี้ยที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ปีนี้ 200,000
ㆍ วางแผนดอทคอมแนะนำแบบประกัน 8501 (บำนาญลดหย่อนได้)
ㆍ ชำระเบี้ย 1 ปี 200,000
ㆍ ได้ทุนประกันหรือจำนวนเงินเอาประกัน 94,125 ซึ่งเป็นตัวเลขที่นำไปคำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับเมื่อเกษียณ
ㆍ รับบำนาญปีละ 12%ของทุนประกัน คือ 12% x 94,125 = 11,295
ㆍ เริ่มรับบำนาญตั้งแต่ปีถัดไป เช่นตามตัวอย่างทำประกันตอนอายุ 60 ก็จะเริ่มรับบำนาญอายุ 61 ถึง 85 เป็นเวลา 25 ปี
ㆍ หากอยู่ถึงสิ้นสุดสัญญา จะได้รับเงินรวม 11,295 x 25 = 282,375
ㆍ หากเสียชีวิตระหว่างสัญญา จะได้ความคุ้มครองชีวิต เท่ากับเบี้ยประกันที่ชำระไปแล้ว หักด้วยเงินบำนาญที่รับไปแล้ว (มีค่าเท่ากับ ได้เบี้ยที่จ่ายไปแล้วคืนทั้งหมดนั่นเอง ก็คือได้ผลประโยชน์เท่ากับภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว)

สรุป
กรณีถือกรมธรรม์จนสิ้นสุดสัญญา
 จ่าย 200,000
 รับ 282,375

ลดหย่อนภาษี


สอบถาม เช็คเบี้ย หรือปรึกษาการวางแผนประกัน
ณภัชชา พงศ์วัฒนกิจกุล, CFP®, MDRT2021-2023
Tel&Line : 0849290088 หรือคลิกที่นี่ https://line.me/ti/p/S4ZgdTCQoS          

ตัวแทนประกันชีวิต ตำแหน่งผู้จัดการขาย AAA เมืองไทยประกันชีวิต เลขที่ใบอนุญาต 5401078254
นักวางแผนการเงิน คุณวุฒิ CFP (Certified Financial Planner) เลขที่ CFPTH190000029
ผู้วางแผนการลงทุน IP License และ ผู้แนะนำการลงทุน IC License เลขที่ 086641
Facebook คลิก : วางแผนดอทคอม
Tiktok คลิก : www.tiktok.com/@wangpaan.com          

อย่าลืมกด Like, Follow และ Subscribe จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำคัญจากพี่แผนนะครับ...

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้